หัวข้อ
พัฒนาการเป็นสิ่งที่ควรรู้เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักถึงความสามารถของลูกได้ตามช่วงวัย แต่ไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนจะต้องมีพัฒนาการที่ตรงเหมือนกันเป๊ะ ๆ ไม่มีใครที่สามารถเติบโตขึ้นมาได้เหมือนกัน 100%
พัฒนาการด้านล่างครูพายหวังว่ามันจะเป็นตัวช่วยไกด์ไลน์คุณพ่อคุณแม่ ให้สามารถเช็คได้ว่าลูกเราไม่ล่าช้าจนน่ากังวลค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่า พัฒนาการของลูกไม่เป็นไปตามไกด์ไลน์ด้านล่าง หรือรู้สึกว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้ามากกว่าลูกเพื่อนในวัยเดียวกัน ควรรีบพาหนู ๆ ไปพบผู้เชี่ยวชาญ กุมารแพทย์ โดยด่วนนะคะ
เด็กวัย 2 เดือน
พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ
- ยกหัวขึ้นตอนนอนคว่ำ
- มีการขยับแขนขยับขามากขึ้น
- เริ่มแสดงการแบมือให้เห็น
- เอามือเข้าปาก
พัฒนาการด้านภาษา
- เด็กจะเริ่มส่งเสียงอื่น ๆ มากกว่าเสียงร้องอย่างเดียว เช่นการส่งเสียงในลำคอ (cooing sound) เสียง อา อู เอ
- เด็กเริ่มหันมองไปยังเสียงที่ได้ยิน
- ร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการบางอย่าง หรือหยุดร้องเมื่อถูกอุ้ม
พัฒนาการด้านอารมณ์และทักษะสังคม
- เด็กเริ่มมีการแสดงอารมณ์ ทั้งหัวเราะ และร้องไห้
- เด็กส่งยิ้มให้คุณพ่อคุณแม่เมื่อมองจ้องหน้า
- เริ่มกวาดตามองตาม
- ดีใจ เมื่อมีคนเดินเข้ามาหา
- หัวเราะเมื่อมีคนพูดคุยด้วย
พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจ
- ตามองตามของที่เคลื่อนไหว เช่น ของเล่น หรือของที่เขย่าไปมา
- จ้องของเล่นเป็นเวลานาน
- จำคนคุ้นเคยได้
- มองคนเดินจากไป
- เมื่อคุณพ่อคุณแม่เผลอทำเสียงดัง เด็กจะแสดงการตอบสนอง เช่น สะดุ้ง
เด็กวัย 4 เดือน
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ
- เมื่อคุณพ่อคุณแม่อุ้มเด็ก จะเห็นได้ว่าเด็กสามารถยกหัวได้อย่างมั่นคงตอนถูกอุ้ม
- เด็กวัย 4 เดือนจะสามารถถือของเล่นไว้ได้เมื่อมีคนเอาใส่มือ และรวมถึงเอาของเล่นมาเขย่า และเอาของเล่นหรือมือเข้าปาก
- เด็กสามารถยกตัวขึ้นด้วยศอกหรือแขน ขณะที่เด็กนอนคว่ำ
- เด็กจะเริ่มโยกตัวไปมา หมุนตัวไปมา และเริ่มพลิกตัวหงายได้
พัฒนาการด้านภาษา
- เด็กจะพูดเก่งมากขึ้น พูดจ้อ หรือที่เรียกว่า “Babbles” เริ่มเห็นเด็กเลียนแบบเสียงต่างๆ มากขึ้น
- หัวเราะเสียงดัง และร้องไห้หลากหลายแบบ จากหลายสาเหตุ เช่น ร้องเมื่อหิว ร้องเมื่อรู้สึกเจ็บ หรือร้องเมื่อรู้สึกเบื่อ
- เด็กทำเสียงตอบรับเมื่อมีคนพูดคุยด้วย
พัฒนาการด้านอารมณ์และทักษะสังคม
- ยิ้มให้กับคน
- เด็กจะขยับแขน ขยับขาไปมา เมื่อตื่นเต้น
- ส่วนใหญ่แล้วเวลาที่เด็กร้อง เด็กจะหยุดร้องเมื่อรู้สึกปลอดภัย
- เด็กจะเลียนแบบสีหน้า เช่น การยิ้ม หรือการทำหน้าบึ้งตึง ชอบเล่นกับคนมากขึ้น
พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจ
- เด็กจะกวาดตามองสิ่งที่เคลื่อนไหวไปมา
- ส่งเสียงพูดคุย เมื่อเด็กมีความสุข หรือแม้แต่ตอนเสียใจ
- เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ป้อนนม เด็กจะจ้องมองหน้าของคุณ
- เด็กจะเอื้อมมือเพื่อไปหยิบของเล่น หรือนำของเล่นมาเข้าปาก
พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ
- เด็กสามารถพลิกตัว คว่ำ และ หงาย ได้เอง
- เด็กเริ่มนั่งเองได้ (แต่คุณพ่อคุณแม่อาจยังต้องช่วยซัพพอร์ตนิดหน่อย)
- ขณะที่จับเด็กยืน จะมีการใช้เท้ายันถีบพื้น และในบางครั้งก็อาจเหมือนว่าเด็กกระโดดอยู่
- รู้ไหมว่า เด็กจะเริ่มถอยหลังก่อนและถึงเดินหน้า เด็กจะแสดงการขยับโยกตัวไปมา แต่สิ่งที่ผู้ปกครองจะเห็นก่อนก็คือการถอยหลังๆๆ และจะเริ่มคลานไปข้างหน้าในภายหลัง
พัฒนาการด้านภาษา
- เด็กทำเสียง เล่นเสียง “ปาปา” “มามา” “ดาดา”
- เด็กเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่”
- เด็กจะแสดงการเลียนแบบท่าทาง เช่น การพยักหน้า เพื่อตอบรับว่าใช่ และการส่ายหน้า เพื่อแสดงถึงการปฏิเสธ
- เริ่มมีการใช้นิ้วเพื่อชี้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
พัฒนาการด้านอารมณ์และทักษะสังคม
- เด็กจำคนคุ้นเคยได้มากขึ้น
- เด็กจะชอบเล่นกับคนอื่น ๆ มากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นคนในครอบครัวที่เด็กคุ้นเคย , วัยนี้จะเริ่มเห็นเด็กชอบเล่น “จ๊ะเอ๋”
- ชอบมองตัวเองในกระจก ผู้ปกครองสามารถนำกระจก (ที่ปลอดภัย ไม่มีขอบคม) มาเล่นกับเด็ก ให้เด็กสังเกตุและมองสำรวจตนเอง
- เด็กจะส่งเสียงมากขึ้น ทั้งขณะที่เด็กมีความสุข หรือแม้แต่ตอนที่เขาหงุดหงิดก็ตาม
พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจ
- เด็กเริ่มสำรวจโลกใบนี้ โดยการใช้มือและปากของเขา เช่น เอามือจับวัตถุต่างๆ เพื่อสำรวจว่ามันคืออะไร เป็นอย่างไร และใช้ปากสำรวจโดยการนำสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก
- เวลาที่เด็กถือของเล่น หรือสิ่งของบางอย่างในมือ วัย 6 เดือนนี้ ผู้ปกครงจะเริ่มเห็นเด็กส่งของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือ
- วัย 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตุเห็นว่าเด็กจะมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมากขึ้น
พัฒนาการเด็กวัย 9 เดือน
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ
- เด็กสามารถนั่งได้เองอย่างมั่นคง โดยคุณพ่อคุณแม่ ไม่ต้องช่วยซัพพอร์ตแล้ว
- เด็กสามารถคืบหรือคลานได้
- สามารถใดึงตัวลุกขึ้นยืน และยืนค้างไว้ได้
- สามารถเริ่มก้าวเดิน เกาะเดิน โดยการเกาะเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเดิน
พัฒนาการด้านภาษา
- เด็กทำเสียง เล่นเสียง “ปาปา” “มามา” “ดาดา”
- เด็กเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่”
- เด็กจะแสดงการเลียนแบบท่าทาง เช่น การพยักหน้า เพื่อตอบรับว่าใช่ และการส่ายหน้า เพื่อแสดงถึงการปฏิเสธ
- เริ่มมีการใช้นิ้วเพื่อชี้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
พัฒนาการด้านอารมณ์และทักษะสังคม
- เริ่มแสดงการกลัวคนแปลกหน้า
- เด็กแสดงอารมณ์หลากหลายมากขึ้น ทั้งยิ้ม หัวเราะ และร้องไห้
- ชอบเล่นของเล่นบางอย่าง
- เริ่มหันตามเสียงเรียกชื่อตนเอง
- ติดผู้ใหญ่ที่เป็นคนคุ้นเคย
- ร้องไห้เมื่อคุณพ่อคุณแม่เดินออกไปจากเด็ก และจะเริ่มเห็นท่าทีเขินอายเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า
พัฒนาการ
ด้านความคิดความเข้าใจ
- มองตามของตก
- มองหาของที่กำลังจ้องมองอยู่แล้วหายไปจากลานสายตา
- ย้อยของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือ
- เล่นจ๊ะเอ๋เป็นแล้ว
- ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็ก
- เปลี่ยนหน้าหนังสือ
- เอาของเข้าปาก
- เอาของเล่นมาเล่นเคาะ ๆ กัน