The world is a sensory place!

ประสาทรับความรู้สึกทั้งหกด้าน การมองเห็น การได้ยิน การรับรส การได้กลิ่น การรับสัมผัส การรับรู้การเคลื่อนไหว

เคยสงสัยกันไหมคะว่าเพราะอะไร…

บางคนถึงชอบกินข้าวนิ่ม ในขณะที่บางคนชอบกินข้าวแข็งๆ  

บางคนถึงรวดเร็วกระฉับกระเฉง ในขณะที่บางคนทำอะไรช้า ค่อยๆ ทำ

บางคนชอบสัมผัสของหาดทราย ในขณะที่บางคนชอบฟังเสียงทะเลมากกว่า

บทความนี้ Kidscupied จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ Sensory beings ว่าคืออะไร และ Sensory experience มีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันเรายังไงบ้างค่ะ 

หัวข้อวันนี้

  • Our sensory beings มนุษย์กับประสาทสัมผัสรับความรู้สึกคือสิ่งเดียวกัน
  • Sensational แต่ละคนแตกต่างกัน
  • Sensory pattern มีอยู่ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง ?
  • แล้ว Sensational มีผลต่อเรายังไง สำคัญยังไงกับเด็ก ?

Our sensory beings มนุษย์กับประสาทสัมผัสรับความรู้สึกคือสิ่งเดียวกัน

”พรมอันนั้นมันต้องนุ่มมากแน่ ๆ เลย“ 

“ร้านนี้ทำอาหารหอมจัง หิวเลย”

“ถ้าพูดถึงบรรยากาศที่ชอบ เรานึกถึงไฟสลัว ๆ ชอบมากเลยหล่ะ“ 

เพื่อให้คนฟังเข้าใจความรู้สึกของคนพูด คนเราจึงมักพูดบรรยายสิ่งต่าง ๆ ด้วย sense

โดยปกติแล้วคนเราสามารถรับความรู้สึกได้ 6 ด้าน คือ การมองเห็น การได้ยิน การรับรส การได้กลิ่น การรับสัมผัส และการรับรู้การเคลื่อนไหว และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทุกคนต้องมี 

แต่ไม่ใช่แค่คนเท่านั้นที่มีประสาทสัมผัสการรับความรู้สึก โลกหรือสิ่งแวดล้อมเองก็เต็มไปด้วย Sense เช่นเดียวกัน

สัมผัสของลมที่ปะทะบนใบหน้า เสียงของใบไม้ที่เกิดจากลม แสงอาทิตย์ที่ส่องตอนเช้า สัมผัสของพื้นหญ้า และกลิ่นที่เกิดขึ้นขณะฝนตก ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็น Sense

โลกใบนี้ เต็มเปี่ยมไปด้วย SENSE

“Sense ทำให้เรารับรู้ว่าร่างกายเราอยู่ในท่าทางแบบไหน ทำให้รับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นอย่างไร เสียงที่ได้ยินเกิดขึ้นจากบริเวณใด กลิ่นของอาหารนั้นเป็นอย่างไร  หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Sense ทำให้เราตระหนักรู้ในตนเองและสิ่งรอบข้าง ว่าทุกอย่างเป็นอยู่อย่างไร”

Sensational แต่ละคนแตกต่างกัน

เพราะคนเรามีหลายประเภท การทำความเข้าใจ sensory pattern จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจครอบครัว เข้าใจเพื่อน และเข้าใจเพื่อนร่วมงาน

“วันหยุดที่ผ่านมาเราไปแคมปิ้งมาแหล่ะ อากาศดีเย็นสบายมาก มีเสียงลม เสียงใบไม้ ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายสุด ๆ”

อากาศที่เย็นสบาย = การรับสัมผัส             เสียงลม เสียงใบไม้ = การได้ยิน

ในขณะเดียวกัน ผู้ฟังอาจไม่ได้รู้สึกเหมือนกันกับผู้ที่เล่า เพราะประสบการณ์ของคนฟังอาจไม่ได้เป็นเหมือนคนเล่า เค้าอาจมีประสบการณ์เที่ยวแคมปิ้งที่รู้สึกหนาวเกินไป ลมแรงเกินไปจนทำให้ไม่ได้รู้สึกผ่อนคลายก็เป็นได้… การตีความความรู้สึกของคนแต่ละคนจึงอาจแตกต่างกันไป

เราอาจมีประสบการณ์กับ sense บางประเภทที่ทำให้เรารู้สึกดี แต่ก็อาจรู้สึกท่วมท้นกับ sense บางประเภทได้เช่นเดียวกัน 

“หนูชอบกินมะม่วงเพราะกลิ่นมันหอม แต่หนูไม่ชอบกินมะเขือเทศ ก็เพราะกลิ่นของมัน”

“หนูไม่อยากไปทะเล เพราะหนูไม่ชอบทรายที่มันมาติดตามเท้ากับมือ แต่หนูชอบเล่นน้ำทะเลนะ”

สังเกตุเห็นอะไรกันมั้ยคะ ? คนเดียวกัน senseเดียวกัน ก็ยังชอบอะไรที่มีความแตกต่างกันเลย แล้วทำไมคนสองคนถึงจะไม่แตกต่างกัน

ขนาดคู่แฝดที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน ลึกๆ แล้วบางอย่างก็อาจต่างกันก็ได้ค่ะ เพราะไม่มีใครที่เหมือนกันได้ 100% ถึงแม้ว่าจะเติบโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน เพื่อนกลุ่มเดียวกัน กินข้าวร้านเดียวกัน แต่ประสบการณ์ที่คุณได้รับบางอย่างก็ไม่เหมือนกัน แค่นั้นก็ส่งผลต่อประสบการณ์ที่แตกต่างกันของคนสองคนแล้ว

Sense ต่าง ๆ ที่เราได้รับในชีวิตประจำวันนั้นอาจเป็นสิ่งเร้าที่บางคนแสวงหา แต่บางคนก็อาจหลีกหนีเพื่อลดสิ่งเร้าเหล่านั้น เพราะการความรับรู้สึกของแต่ละคนไม่เท่ากัน และประสบการณ์การรับความรู้สึก (sensory experience) ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน

Sensory pattern มีอยู่ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง ?

หากนึกถึงบรรยากาศตลาดนัด คุณจะนึกถึงอะไร… อากาศร้อน เสียงที่ดังจากการพูดคุยของแม่ค้าและลูกค้า ผู้คนมากมายเดินกันไปมา มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา กลิ่นอาหารหลากหลายคละคุ้ง

แล้วถ้าพูดถึงร้านสปาหล่ะ… บรรยากาศในร้านก็คงหนีไม่พ้นอากาศเย็นพอดีไม่หนาวหรือร้อนเกินไป แสงวอร์มอุ่นๆ สบายตา กลิ่นหอมอ่อนๆ ที่สุดแสนจะผ่อนคลาย และเสียงเพลงบรรเลงเบาๆ ให้พอได้เพลิดเพลิน

เป็นยังไงคะ พอจะเห็นภาพกันมั้ย ว่า Sensational มันมีอยู่ทุกที่ในชีวิตประจำวันของเราเลยค่ะ

Sensation is everywhere.

แล้ว Sensational มีผลต่อเรายังไง สำคัญยังไงกับเด็ก ?

มันคงไม่สนุกเลย ถ้าลูกมี Sensory pattern อย่างนึง แต่พ่อแม่ไม่ได้สนุกหรือมีความสุขไปกับ Sense เหล่านั้น หรือแม้แต่พ่อแม่มีความชอบในบางอย่าง แต่ลูกของคุณก็ไม่ได้สนุกไปกับมัน

มันคงรู้สึกอึดอัด และไม่ได้รู้สึกว่ามันน่าพอใจใช่มั้ยคะ ?

เพราะพ่อแม่และเด็กต่างมีความต้องการทาง sensory ที่ต่างกันออกไป ถ้าพ่อแม่มีความเข้าใจต่อรูปแบบ sensory ของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ก็จะมีวิธีการในการจัดการหรือการสร้างสัมพันธ์กับลูกได้อย่างดียิ่งขึ้น

เช่น รูปแบบการจัดห้องเด็กเล่นในบ้านที่จะไม่รบกวนพ่อแม่ การจัดเก็บของเล่นในรูปแบบที่พ่อแม่พึงพอใจ วิธีการเล่นที่พ่อแม่สามารถสนุกสนานไปกับลูกได้ หรือการสร้างกิจวัตรประจำวันสำหรับพ่อแม่ลูกๆ

แน่นอนว่าคนทุกคนมีการรับประสาทรับความรู้สึกที่แตกต่างกัน ฉะนั้นแล้วการทำความเข้าใจsensory pattern ของเรา จะช่วยให้คุณดำเนินชีวิตประจำวันไปได้อย่างน่าพึงพอใจได้มากขึ้น

และ การทำความเข้าใจ sensory pattern ของลูกเรา ก็จะช่วยให้คุณสามารถช่วยให้ลูกสามารถดำเนินชีวิตประจำวันของเขาไปได้อย่างน่าพึงพอใจได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน

แล้ววันนี้คุณรู้หรือยังว่าตัวเองมี sensory pattern แบบไหน ? ลองทำความรู้จักกับ senseของตัวเองและลูกของคุณ เพื่อปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันดูสิ…


อ้างอิง

  • Living Sensationally Understanding Your Senses. Winnie Dunn